เปิดประสาทสัมผัสรับฟังเสียงใหม่ ภูมิทัศน์ทางเสียงบนรถไฟฟ้าไทเป
เนื้อเรื่อง‧เติ้งฮุ่ยฉุน ภาพ‧จวงคุนหรู แปล‧อัญชัน ทรงพุทธิ์
มิถุนายน 2018
不知您是否「聽覺」台北捷運閘門警示音,從呆板、機械的嗶嗶聲換成了悅耳的鋼琴和弦;當列車駛進路線轉接點時,輕快的鋼琴音階迴盪在車廂間,提醒旅客轉乘;藍、綠、紅、橘四線列車進站時,月台有專屬的音樂旋律,陪伴市民一日的開始與結束;陸續推出的捷運站體音樂,也希望成為市民的台北記憶。從一個音符改變開始,這是「台北聲音地景計畫」的一小步,卻是整個城市文化升級、邁向精緻的一大步。
ท่านเคย “ได้ยิน” เสียงสัญญาณแจ้งเตือนที่ประตูชานชาลาสถานีรถไฟฟ้าไทเปที่เปลี่ยน จากเสียงปี๊ด ปี๊ด ซึ่งเป็นเสียงสัญญาณแจ้งเตือนจากระบบที่น่าเบื่อ กลายมาเป็นเสียง เปียโนที่ ท่านเคย “ได้ยิน” เสียงสัญญาณแจ้งเตือนที่ประตูชานชาลาสถานีรถไฟฟ้าไทเปที่เปลี่ยน จากเสียงปี๊ด ปี๊ด ซึ่งเป็นเสียงสัญญาณแจ้งเตือนจากระบบที่น่าเบื่อ กลายมาเป็นเสียง เปียโนที่ไพเราะเสนาะหูแล้วหรือยัง เสียงดนตรีที่ไพเราะเสนาะหูนี้จะดังขึ้นทันทีที่ขบวน รถไฟฟ้าแล่นเข้าจอดที่ชานชาลาให้ผู้โดยสารขึ้นลงเพื่อเปลี่ยนไปต่อรถไฟฟ้าสายอื่นซึ่ง ประกอบด้วยสายสีน้ำเงิน เขียว แดง หรือส้ม เสียงดนตรีที่ออกแบบมาเพื่อใช้ที่ชานชาลา สถานีรถไฟฟ้าโดยเฉพาะนี้จะอยู่เคียงคู่กับชาวไทเปตั้งแต่เช้าตรู่ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นวันใหม่ จนถึงเที่ยงคืนซึ่งเป็นเวลาสิ้นสุดของแต่ละวัน สถานีรถไฟฟ้าไทเปทยอยปรับเปลี่ยนมาใช้ เสียงดนตรีแทนเสียงสัญญาณแจ้งเตือนแบบเก่า โดยหวังว่าจะกลายเป็นเอกลักษณ์ของ ไทเปที่ทำให้ผู้คนจดจำและประทับใจไพเราะเสนาะหูแล้วหรือยัง เสียงดนตรีที่ไพเราะเสนาะหูนี้จะดังขึ้นทันทีที่ขบวน รถไฟฟ้าแล่นเข้าจอดที่ชานชาลาให้ผู้โดยสารขึ้นลงเพื่อเปลี่ยนไปต่อรถไฟฟ้าสายอื่นซึ่ง ประกอบด้วยสายสีน้ำเงิน เขียว แดง หรือส้ม เสียงดนตรีที่ออกแบบมาเพื่อใช้ที่ชานชาลา สถานีรถไฟฟ้าโดยเฉพาะนี้จะอยู่เคียงคู่กับชาวไทเปตั้งแต่เช้าตรู่ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นวันใหม่ จนถึงเที่ยงคืนซึ่งเป็นเวลาสิ้นสุดของแต่ละวัน สถานีรถไฟฟ้าไทเปทยอยปรับเปลี่ยนมาใช้ เสียงดนตรีแทนเสียงสัญญาณแจ้งเตือนแบบเก่า โดยหวังว่าจะกลายเป็นเอกลักษณ์ของ ไทเปที่ทำให้ผู้คนจดจำและประทับใจ
นี่คือก้าวเล็กๆ ก้าวแรกของ โครงการภูมิทัศน์ทางเสียงไทเป(Taipei Soundscape Program) แต่เป็นก้าวสำคัญที่ส่งผลให้เมืองนี้พัฒนาไปสู่ความเป็นเมืองที่มีวัฒนธรรมอันประณีตงดงาม
อาจารย์หลี่หมิงชง (李明璁) ซึ่งเปิดสอนวิชาสังคมวิทยาทางดนตรี (Sociology of music) ในมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน (NTU) มาตั้งแต่ปีค.ศ.2007 ในการเรียนคาบแรกซึ่งเป็นการแนะนำพื้นฐานวิชาสังคมวิทยาทางดนตรีได้กล่าวถึงแนวคิดเรื่องภูมิทัศน์ทางเสียง (Soundscape) ที่เสนอโดย R. Murray Schafer บิดาแห่งศาสตร์ด้านนิเวศทางเสียง (Acoustic Ecology) โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะชักจูงให้นักศึกษารู้จักสดับฟังเสียงที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวซึ่งอาจจะกลายเป็นแรงบันดาลใจที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทางเสียงในโลกนี้ก็เป็นได้
ปีค.ศ.2014 นายเคอเหวินเจ๋อ (柯文哲) ชนะการเลือกตั้งผู้ว่าการกรุงไทเป อาจารย์หลี่หมิงชง (李明璁) ซึ่งได้รับเชิญให้เข้ารับตำแหน่งที่ปรึกษาผู้ว่าการกรุงไทเป ได้เสนอต่อกองวัฒนธรรมกรุงไทเปว่า ควรเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการหารือเกี่ยวกับประเด็นเล็กๆ แต่ควรค่าแก่การศึกษาวิจัยในเชิงลึก ซึ่งก็คือประเด็นเรื่องการออกแบบภูมิทัศน์ทางเสียงบนรถไฟฟ้าไทเป
ทำลายกรอบความเคยชิน ที่ชอบฟังหูซ้ายทะลุหูขวา
Wright Mills นักสังคมวิทยาชาวอเมริกัน ได้เสนอแนวคิดเรื่อง จินตนาการทางสังคมวิทยา (Sociological Imagination) ซึ่งก็คือความพยายามที่จะเชื่อมโยงสภาพการณ์ของทุกคนในสังคมเข้ากับประเด็นสาธารณะ อาจารย์หลี่หมิงชงหวังว่าจะสามารถนำแนวคิดนี้มาใช้กับภูมิทัศน์ทางเสียงในรถไฟฟ้าไทเป และทำให้ทุกคนตระหนักว่าในพื้นที่สาธารณะที่ทุกคนใช้ร่วมกัน มีบางสิ่งที่เราคุ้นชินจนไม่รู้สึกถึงความผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ อาทิ เสียงสัญญาณแจ้งเตือนของรถไฟฟ้าที่ทุกคนคิดว่าควรต้องเป็นเสียงที่ดังมากเพื่อเตือนให้ผู้พิการทางสายตาได้รับรู้ แต่หารู้ไม่ว่าผู้พิการทางสายตาจะมีประสาทสัมผัสทางหูที่ไวเป็นพิเศษ ระดับความดังของเสียงที่สูงมากจะทำให้ผู้พิการทางสายตาทนไม่ได้ การนำสภาพการณ์ที่ผู้พิการทางสายตากำลังประสบอยู่มาเชื่อมโยงกับการออกแบบสิ่งแวดล้อมสาธารณะถือเป็นส่วนหนึ่งของ จินตนาการทางสังคมวิทยา จากจุดนี้เราสามารถนำมาใช้ตรวจสอบได้ว่า พื้นที่สาธารณะที่เราใช้ร่วมกันอยู่ในขณะนี้มีความเป็นมิตรหรือได้ใส่ใจในรายละเอียดมากพอแล้วหรือยัง ตลอดจนละเลยความต้องการและความรู้สึกของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสหรือไม่
การออกแบบเสียงดนตรีในระบบรถไฟฟ้าไทเปนับเป็นจุดเริ่มต้นของการปรับปรุงแก้ไข นี่เป็นเพียงเรื่องเล็กๆ แต่การที่เราเข้าไปดูแลแก้ไขเรื่องเล็กๆ เหล่านี้ให้กลายเป็นสิ่งที่มีวัฒนธรรมมากขึ้นจะทำให้เราสามารถทบทวนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลกับสิ่งแวดล้อมว่าจะต้องปรับปรุงในส่วนของรายละเอียดและความแตกต่างของปัจเจกบุคคลได้อย่างไร อาจารย์หลี่หมิงชงกล่าว
ด้วยเหตุนี้เอง กองวัฒนธรรมกรุงไทเปจึงได้ร่วมมือกับบริษัทรถไฟฟ้าไทเป เริ่มทำการปรับเปลี่ยนเสียงสัญญาณแจ้งเตือนการเข้า-ออกสถานีรถไฟฟ้า เดิมเป็นเสียงสัญญาณแจ้งเตือนจากระบบที่ดังแสบแก้วหู เปลี่ยนมาเป็นเสียงเปียโน การเปลี่ยนแปลงที่เริ่มจากโน้ตดนตรีนี้ถือเป็นก้าวเล็กๆ ก้าวแรกของการเปลี่ยนแปลง
เริ่มจากรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ แต่ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่
เพียงแค่เปลี่ยนมาใช้เสียงโน้ตดนตรีก็วุ่นวายปั่นป่วนกันไปหมด เดิมมีการออกแบบให้เสียงดนตรีที่ดังขึ้นขณะที่รถไฟฟ้าแล่นเข้าสู่สถานีรถโดยมีระดับเสียงแตกต่างกัน และเมื่อผู้โดยสารรูดบัตรผ่านประตูเข้าสู่ภายในสถานีรถจะมีเสียงดนตรีดังขึ้นเป็นจังหวะ แต่เนื่องจากความจุของระบบคอมพิวเตอร์ภายในสถานีที่สามารถรองรับได้เพียงเสียงโน้ตดนตรีเท่านั้น อีกทั้งต้องไม่ใช่เสียงที่สูงหรือต่ำเกินไป ดังนั้นเพื่อปรับให้ได้เสียงดนตรีที่ฟังแล้ว ไพเราะและ เสนาะหู ทีมงานก็ต้องทดลองปรับเสียงนับครั้งไม่ถ้วน
โครงการภูมิทัศน์ทางเสียงไทเป ขั้นตอนที่ 2 คือออกแบบเสียงดนตรีประจำสถานีแต่ละสายทั้ง 4 สาย ได้แก่สายตั้นสุย-ซิ่นอี้ (สีแดง) สายป่านหนาน (สีน้ำเงิน) สายซงซาน-ซินเตี้ยน (สีเขียว) และสายจงเหอ-ซินหลู (สีส้ม) ซึ่งเป็นเส้นทางที่มีผู้โดยสารใช้บริการค่อนข้างมาก
คุณเหลยกวงเซี่ย (雷光夏) นักออกแบบที่ออกแบบเสียงดนตรีของรถไฟฟ้าสายสีแดงใช้แนวคิดเรื่อง การท่องเที่ยวแบบเบาๆ โดยนำเสียงเปียโน กีตาร์ และเชเลสตา มาประสานเป็นทำนองดนตรีนำพาผู้คนออกเดินทางจากเขตตั้นสุ่ยซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่เข้าสู่ตึกไทเป 101 ซึ่งเป็นย่านการค้ายุคใหม่ ส่วนคุณโจวเยว่เฉิง (周岳澄) ก็ได้ไอเดียจากบรรยากาศความเป็นศิลปะและวิชาการของชุมชนและย่านการศึกษาที่รถไฟฟ้าสายสีเขียววิ่งผ่าน มาออกแบบทำนองดนตรี โดยนำบทเพลง Nocturne ของโชแปง มาดัดแปลงด้วยการใส่บริบทของดนตรีแจ๊สลงไปกลายเป็นท่วงทำนองดนตรีที่ให้ความรู้สึกผ่อนคลายและไพเราะเสนาะหู
คุณหลี่ซินหยุน (李欣芸) ใช้ทำนองเพลง 5/4 time ที่ไม่ค่อยพบเห็นได้บ่อยนัก บรรเลงซ้ำและประสานกับเสียงเปียโนช่วยบรรเทาความรุ่มร้อนในจิตใจของผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (ป่านหนาน) ที่เร่งรีบและแออัดลงได้บ้าง ขณะที่คุณเฉินเจี้ยนฉี (陳建騏) พบว่าผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายจงเหอ-ซินหลู ส่วนใหญ่เป็นคนทำงานที่อาศัยรถไฟฟ้าเดินทางไปกลับ จึงตัดสินใจเลือกทำนองดนตรีที่ สนุกสนาน ร่าเริง และช่วยบรรเทาความเครียด โดยใช้ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งให้ความรู้สึกเหมือนเสียงจากเครื่องจักร ด้วยความหวังว่ามนต์เสน่ห์ของเสียงดนตรีจะเป็นเพื่อนคนทำงานตลอดการเดินทางทั้งขาไปและขากลับ
โครงการภูมิทัศน์ทางเสียงไทเป ขั้นตอนที่ 3 คือการออกแบบเสียงดนตรีภายในตู้รถไฟฟ้า ณ สถานีที่เป็นจุดเปลี่ยนต่อไปยังสายอื่นและสถานีปลายทาง ใช้เพลงบรรเลงเปียโนที่ชื่อว่า กำเนิดแห่งลม (風起) ซึ่งเป็นผลงานการประพันธ์ของคุณโจวเยว่เฉิงที่ได้จากการใช้โน้ตตัวเขบ็ต 2 ชั้น (Sixteenth note) นอกจากใช้เป็นสัญญาณแจ้งเตือนผู้โดยสารที่ต้องการเปลี่ยนเส้นทางและเมื่อถึงสถานีปลายทาง ยังช่วยให้ผู้โดยสารที่เพิ่งมาเยือนไทเปเป็นครั้งแรกประทับใจในความไพเราะเสนาะหูอีกด้วย
การออกแบบเสียงดนตรีภายในสถานีรถไฟฟ้า (หมายถึงบริเวณประตูชานชาลาถึงประตูเข้าออกสถานี) ซึ่งเป็นส่วนที่ยากที่สุด แต่ก็เริ่มทยอยปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใหม่อย่างต่อเนื่อง การนำเสียงดนตรีเข้าสู่สถานีรถไฟฟ้าแม้จะเป็นการทำให้ทฤษฎีดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่สาธารณะกลายมาเป็นความจริง แต่ก็ต้องเผชิญกับบททดสอบมากขึ้น อาทิ พื้นที่ภายในสถานีรถแต่ละแห่งไม่เท่ากัน ปริมาณผู้โดยสารที่ใช้บริการต่างกัน หรือแม้แต่ความพร้อมของอุปกรณ์ระบบกระจายเสียง สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคที่ต้องหาทางแก้ไข เนื่องจากเสียงเป็นสิ่งที่มนุษย์เรามองไม่เห็น การจะปรับเสียงให้ฟังแล้วนุ่มสบายหู ไพเราะ และมีคุณภาพไม่ใช่เรื่องง่าย ในช่วงระหว่างที่ทำการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจึงต้องศึกษารายละเอียดต่างๆ มากเป็นพิเศษ ทีมงานได้ทดลองปรับระดับเสียง ความเร็ว ทำนองเพลง เครื่องดนตรี และความถี่เสียง อีกทั้งได้ขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีและเสียง ตลอดจนรวบรวมความคิดเห็นของผู้โดยสาร ความเพียรพยายามที่ผู้คนทั่วไปไม่มีโอกาสรับรู้และไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขให้เสร็จสมบูรณ์ได้ในทันทีนี้ ต้องผ่านขั้นตอนของ การสื่อสาร กันอย่างค่อยเป็นค่อยไปเท่านั้น
ทุกคนมีส่วนร่วม แสวงหาสิ่งที่คนส่วนใหญ่เห็นพ้องกัน
ในระหว่างการสื่อสาร สิ่งที่ขาดไม่ได้คือให้ทุกคนในสังคมมีส่วนร่วม เทศบาลกรุงไทเปได้จัดตั้งกลุ่มงานขึ้นเป็นการเฉพาะและได้เชิญพลเมืองเข้ามามีส่วนร่วมในการสำรวจภาคสนาม ซึ่งเป็นการสำรวจความเห็นต่างๆ ในเมืองแห่งนี้ และในการออกแบบเสียงดนตรีประจำสถานีรถไฟฟ้าขั้นตอนที่ 2 เว็บไซต์ทางการได้จัดประกวดการออกแบบเสียงดนตรี (DIY) ประชาชนสามารถเข้ามาเลือกทำนองดนตรี จังหวะ และเสียงที่ชื่นชอบ จากนั้นนำมาประสานเข้าด้วยกันก็จะได้เสียงทำนองดนตรีที่ต้องการออกมา
การประกวดเสียงดนตรีประจำสถานีรถไฟฟ้าได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม มีผลงานส่งเข้าร่วมประกวดทั้งสิ้น 447 ชิ้น จาก 12 ประเทศ ซึ่งจะคัดเลือกไปใช้เป็นเสียงดนตรีประจำสถานีตงเหมิน สถานีวัดหลงซาน สถานีซงซาน สถานีเซี่ยงซาน และสถานีไทเปอารีนา
คุณจางจวินฉือ (張君慈) ผู้ออกแบบเสียงดนตรีประจำสถานีซงซาน เพิ่งจบการศึกษาจากคณะออกแบบอุตสาหกรรม (Industrial Design) มหาวิทยาลัยเฉิงกง (NCKU) เรียนเปียโนมาตั้งแต่เด็ก ในยามปกติชอบบันทึกชีวิตประจำวันด้วยการอัดเสียงต่างๆ ที่อยู่รอบตัว ผลงานของเธอมีชื่อว่า นักเดินทางพเนจร (漫遊旅人) ซึ่งใช้เสียงดนตรีเรียบๆ สองเสียงมาประสานกันราวกับเสียงคลื่นทะเลที่ซัดไปมา สื่อความหมายถึงความคาดหวังในการเดินทางกับความทรงจำในอดีต ทำให้นักเดินทางมีความรู้สึกราวกับกำลังถูกห้อมล้อมไปด้วยไอหมอกและทำให้คิดอยากจะบินขึ้นสู่ฟากฟ้า
คุณเกาหมิ่นหลุน (高敏倫) เคยทำดนตรีประกอบภาพยนตร์ไต้หวันหลายเรื่อง อีกทั้งยังคว้ารางวัลจากการประกวดผลงานดนตรีแนวสร้างสรรค์เป็นประจำ เธอคิดว่าเสียงดนตรีที่อยู่รอบตัวเราคล้ายกับน้ำหอมหรือกลิ่นหอมที่ฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศ ไม่มีรูปลักษณ์ที่จับต้องได้ แต่สามารถเปลี่ยนแปลงอารมณ์ความรู้สึกของเราได้ เสียงดนตรีที่คุณเกาหมิ่นหลุนออกแบบสร้างสรรค์ให้สถานีเซี่ยงซาน มาจากเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย อาทิ กีตาร์และแมนโดลิน (Mandolin) ซึ่งมีเสียงที่กังวานใสบรรเลงซ้ำไปมา ประกอบกับใช้เทคนิคการเพิ่มและลดเสียง ทำให้บรรยากาศภายในสถานีรถแห่งนี้อบอวลไปด้วยกลิ่นอายของดนตรีที่ช่วยผ่อนคลายและทำให้รู้สึกสดชื่น
คุณจางหย่งเฉียว (張詠橋) ซึ่งกำลังเรียนด้านดนตรีประกอบภาพยนตร์อยู่ที่ซานฟรานซิสโก ต้องการเปลี่ยนความรู้สึกของผู้คนที่มีต่อวัดที่เคร่งขรึมและเงียบสงบ เขาใช้เครื่องดนตรีจีนที่ตนเองถนัด ได้แก่ ปี่ปากใหญ่ (Suona) ฆ้อง และกลอง ผสมผสานกับเสียงกีตาร์เบสไฟฟ้า ให้ความรู้สึกราวกับกำลังยืนอยู่ที่ลานหน้าวัดที่มีผู้คนมากมายและเสียงดังจอแจ
คุณหลินซั่งเต๋อ (林尚德) หัวหน้าฝ่ายโปรดิวเซอร์ของ Harvest Music ในฐานะผู้รับผิดชอบและกรรมการตัดสินการประกวดเสียงดนตรีประจำสถานีรถไฟฟ้ากล่าวยกย่องผลงานของคุณจางหย่งเฉียวชิ้นนี้ว่า เป็นผลงานที่เรียบง่ายคลาสสิก ใช้เครื่องดนตรีที่เหมาะเจาะและไม่ได้มีเฉพาะบริบทของตะวันออกเสียทั้งหมด แต่ยังมีความเป็นสากลคละเคล้าอยู่มาก
คุณหม่าอีเซียน (馬一先) ผู้ออกแบบเสียงดนตรีประจำสถานีไทเปอารีนา ต้องการสะท้อนบรรยากาศความคึกคักและมีชีวิตชีวาของที่นี่ จึงตัดสินใจเลือกใช้เสียงที่ปรากฏขึ้นภายในสถานีรถ อาทิ เสียงผู้คนพูดคุยกัน เสียงเดิน เสียงประตูชานชาลาเปิดปิด และเสียงปรบมือ มาประสานเรียงร้อยเข้าด้วยกันกลายเป็นทำนองเพลงสั้นๆ นับได้ว่าเป็นผลงานที่โดดเด่นมากที่สุดในบรรดา 5 ผลงานที่ได้รับการคัดเลือก และทำให้ผู้โดยสารสามารถรับรู้ถึงเอกลักษณ์ท้องที่นั้นได้ในเวลาอันรวดเร็ว
คุณเหวินอิ่นเฉิน (文尹宸) กับคุณสวี่ฉี่หลง (許啟隆) ซึ่งร่วมกันออกแบบเสียงดนตรีประจำสถานีตงเหมิน ใช้ ความคึกคักในตลาดนัด กับ ความเป็นกันเองของผู้คน มาเป็นประเด็นหลักในการออกแบบบรรยากาศ เที่ยวเล่นที่ตงเหมิน โดยใช้บันไดเสียง 5 สเกลแบบดั้งเดิมของจีนมาแต่งเป็นท่วงทำนองดนตรี คุณเหวินอิ่นเฉิน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญการเล่นซอเอ้อหู (二胡) บวกกับประสบการณ์ของคุณสวี่ฉีหลงที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการดนตรีประกอบภาพยนตร์ พวกเขานำดนตรีออร์เคสตราของตะวันตกมาผสมผสานลงไปทำให้เสียงดนตรีมีความสมบูรณ์มากขึ้น การผสมผสานกันของดนตรียุคเก่ากับยุคใหม่เป็นเสมือนสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงวิถีไทเปซึ่งมีสิ่งใหม่ๆ ผุดขึ้นมาทดแทนสิ่งเก่าๆ อยู่ตลอดเวลา
นอกจากใช้ผลงานจากภาคประชาชนที่ชนะการประกวดและรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายเพื่อแสวงหาสิ่งที่ผู้คนเห็นพ้องกันมากที่สุด และนี่คือความหมายที่แท้จริงของการมีส่วนร่วมในประเด็นสาธารณะ ยกตัวอย่างเช่นเสียงดนตรีที่ดังขึ้นขณะที่รถไฟฟ้าเข้าเทียบชานชาลาสถานีสายจงเหอ-ซินหลู ช่วงแรกที่มีการนำเสียงดนตรีมาใช้ ประชาชนจำนวนมากโทรศัพท์ไปประท้วงผ่านสายตรง 1999 และวิพากษ์วิจารณ์กันทางอินเตอร์เน็ตว่า พิสดาร ไม่สบายหู แปลกๆ ฟังแล้วอารมณ์ไม่ดี ไม่ได้ฉลองวันฮาโลวีนกันทุกวันสักหน่อย และรู้สึกมีแรงกดดัน เป็นต้น
ทีมงานของโครงการภูมิทัศน์ทางเสียงไทเป นอกจากขอให้ผู้ออกแบบปรับระดับเสียงแล้ว ยังเตรียมใจไว้ว่าอาจต้องเปลี่ยนเสียงดนตรีใหม่ แต่อาจารย์หลี่หมิงชงกลับกล่าวว่า นี่เป็นเรื่องดี เขายินดีที่มีคนแสดงความคิดเห็น หรือวิพากษ์วิจารณ์เข้ามามากๆ เพราะนั่นหมายถึง ทุกคนเริ่มให้ความสนใจ ในที่สุดทุกคนก็ได้ยิน ในที่สุดก็เริ่มเปิดหูรับฟัง นี่คือสิ่งที่ผมต้องการ
เปิดประสาทสัมผัส รับฟัง เสียงใหม่
การทุ่มงบประมาณเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ครั้งนี้ ก็เพื่อสร้างภูมิทัศน์ทางเสียงในรถไฟฟ้าไทเปด้วยวิธีการออกแบบใหม่ โดยหวังว่าประชาชนจะเปิดประสาทสัมผัสในการรับฟัง เสียงใหม่ๆ แต่เรายังคงสงสัยว่าการรับฟังต้องเริ่มจากการสงบนิ่งก่อนไม่ใช่หรือ? แต่ทำไมใช้วิธีสร้างเสียงเพิ่มเข้าไปในสิ่งแวดล้อมรอบตัว? อาจารย์หลี่หมิงชงอธิบายว่า ในความคิดของผมคือใช้วิธีเพิ่มเข้าไปในระดับหนึ่งเพื่อให้สิ่งที่ขาดไปปรากฏขึ้นมา เพราะวิธีประชาสัมพันธ์แบบติดป้ายหรือสโลแกนที่ลดมลภาวะทางเสียงจะไม่เห็นผลเด่นชัด สู้การทำให้ผู้คนเปิดประสาทสัมผัสในการรับฟัง เสียงใหม่ๆ ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวไม่ได้
ด้วยเหตุนี้เอง อาจารย์หลี่หมิงชงจึงเน้นย้ำว่าสิ่งสำคัญของเสียงดนตรีในสิ่งแวดล้อมก็คือสิ่งแวดล้อม ต้องให้ดนตรีหลอมรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่ใช้สิ่งแวดล้อมมาเป็นตัวประกอบ ดนตรีต้องไม่ไปรบกวนสิ่งแวดล้อม แต่ต้องมีลักษณะพิเศษที่สามารถแยกแยะได้ อีกทั้งต้องสามารถดูดซับและกลบเสียงอื่นๆ ในสิ่งแวดล้อมและทำให้เสียงจอแจสงบลง ตลอดจนสามารถทำให้อารมณ์ความรู้สึกของคนฟังเปลี่ยนแปลงได้ด้วย ความสัมพันธ์ของดนตรีกับสิ่งแวดล้อมคือ แฝงตัวอยู่ทั้งภายในและภายนอก หรือมีความหมายว่าสิ่งที่มนุษย์เรา สามารถได้ยินได้ แต่ก็ไม่ได้ยิน ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งบททดสอบการบริหารงานของเทศบาลกรุงไทเปด้วยเช่นกัน
หากเทียบกับประสาทสัมผัสการมองแล้ว เป็นเรื่องไม่ง่ายที่หูของคนเราจะรู้สึกได้ถึงการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยของเสียงรอบตัวเรา ดนตรีในสิ่งแวดล้อมหมายถึงการนำดนตรีหลอมรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งกับสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่เป็นการเน้นให้โดดเด่นออกมา ด้วยเหตุนี้เอง คุณหลินซั่งเต๋อจึงยอมรับว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่ก้าวหน้าล้ำยุค ตามมาตรฐานการประเมินผลของหน่วยงานราชการที่ยึดการมองเห็นผลงานที่เป็นรูปธรรมเป็นหลัก เทศบาลกรุงไทเปน่าจะทุ่มงบประมาณในโครงการอื่นที่มองเห็นผลงานได้ชัดเจนซึ่งจะได้รับเสียงปรบมือจากพลเมืองง่ายกว่า แต่ถ้าไม่ทำในตอนนี้ เราจะยิ่งไม่มีโอกาสไปถึง จุดนั้น ได้เลย คุณหลินซั่งเต๋อกล่าว
แล้ว จุดนั้น อยู่ที่ไหนล่ะ?
จุดนั้นก็คือการที่นักออกแบบมองจากมุมมองของผู้ใช้บริการและคำนึงถึงความแตกต่างในรายละเอียดทุกซอกทุกมุมเพื่อค้นหาความรื่นรมย์และความไพเราะเสนาะหูที่ไม่อาจเอ่ยออกมาเป็นวลีคำพูดได้ รวมไปถึงการใส่ใจในทุกรายละเอียดรอบตัวเรา ซึ่งจะช่วยให้สามารถยกระดับวัฒนธรรมให้สูงขึ้นเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นวัฒนธรรมที่ประณีตงดงามมากขึ้นในอนาคตนั่นเอง
Murray Schafer เคยกล่าวไว้ว่า หูของเราไม่ได้ถูกอุดไว้ ดังนั้นก็ต้องฟังเสียงต่างๆ ต่อไป แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหู 2 ข้าง มีไว้เพื่อที่จะเปิดรับฟังทุกสิ่งเสมอไป
เปิดหูเพื่อเรียนรู้ที่จะฟัง ปลุกประสาทสัมผัสการรับฟังของเราให้ตื่นตัว เริ่มจากโน้ตดนตรีเพียงหนึ่งตัว เชื่อมั่นว่าเราจะช่วยกันทำให้ภูมิทัศน์ทางเสียงไทเปเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น