ท่องตามสายลม ผิงซี นครนิวไทเป เมืองเก่าท่ามกลางภูเขา ฝากฝันไปกับโคมลอย
เนื้อเรื่อง‧เย่อี๋จวิน ภาพ‧หลินเก๋อลี่ แปล‧แสงชัย กิตติภูมิวงศ์
เมษายน 2016
早在先民時期,新北市即為平埔族的凱達格蘭人所居。大航海時代,西班牙人、荷蘭人陸續築城,各區工農商業相異,形成多層次人文景觀。因此新北市具代表的老街甚多,風華一時的礦冶九份、平溪、十分老街;商業繁盛的金包里(金山老街);以茶葉和染料聞名的深坑、石碇老街;作為基隆河貨物轉運站的水返腳街(汐止老街);窯廠林立、藝作陶瓷的鶯歌老街;巴洛克仿歐風的長街三角湧(三峽老街);和人文薈萃、食肆熱鬧的淡水老街。
ในวันที่มาเยือนผิงซี (平溪) นครนิวไทเป (新北市) ละอองฝนกำลังโปรยปราย ในจำนวน 29 เขตบริหารของ นครนิวไทเป ผิงซีนับว่ามีฝนตกชุกมากที่สุด จำนวนวันที่ มีฝนตกในแต่ละปีมีมากเกือบ 200 วัน จึงเป็นเมืองตั้งอยู่ ท่ามกลางภูเขาเขียวชอุ่ม ท่ามกลางละอองฝนทำให้เมือง นี้มีเสน่ห์และสวยงามมากขึ้น
ในอดีตบริเวณนครนิวไทเปเป็นที่อยู่อาศัยของชนพื้น เมืองชนเผ่าคีตากาลัน (Ketagalan) ยุคสำรวจทาง ทะเล ชาวสเปน ชาวฮอลแลนด์ได้ทยอยเข้ามาสร้าง เมือง ประกอบกับความแตกต่างด้านเกษตร การค้าและ อุตสาหกรรม ทำให้นครนิวไทเปมีความหลากหลายของ ทัศนียภาพและวัฒนธรรม ถนนเก่าที่มีชื่อเสียงของนครนิว ไทเปจึงมีหลายแห่ง เช่น ถนนเก่าจิ่วเฟิ่น (九份) ถนนเก่า ผิงซี ถนนเก่าสือเฟิน (十分) ซึ่งเป็นแหล่งเหมืองถ่านหิน ที่เคยรุ่งเรืองในอดีต ถนนเก่าจินซัน ซึ่งก็คือย่านการค้าจิน เปาหลี่ (金包里) ถนนเก่าสือติ้ง (石碇) ที่เป็นย่านการ ค้าใบชาและสีย้อมที่มีชื่อเสียงตั้งอยู่ที่เซินเคิง ถนนเก่าสุ่ย ฝันเจี่ยว (水返腳) หรือที่เรียกว่าถนนเก่าซี่จื่อ เป็นย่าน ท่าเรือขนถ่ายสินค้าริมแม่น้ำจีหลง ถนนเก่าอิงเกอ เป็น ย่านจำหน่ายเครื่องเคลือบเครื่องปั้นดินเผาต่างๆ ในอดีต ที่นี่มีเตาเผาเครื่องปั้นมากมาย ถนนซันเจี๋ยวหย่ง (三角 湧) หรือถนนเก่าซันเสีย โดดเด่นด้วยอาคารบ้านเรือน สไตล์บาโรกของยุโรป ถนนเก่าตั้นสุ่ย มีความคึกคักของ แผงอาหาร และเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์
ในท่ามกลางถนนเก่าข้างต้น ผิงซี ซึ่งมีชื่อเสียงในฐานะ เมืองแห่งโคมลอยทางภาคเหนือ (กิจกรรมที่มีชื่อเสียง 2 อย่างในเทศกาลหยวนเซียวคือ ปล่อยโคมลอยที่ผิงซีทาง ภาคเหนือ และจุดประทัดรังผึ้งทางภาคใต้) ซึ่งที่ผิงซีได้มี การจัดงานเทศกาลโคมลอยนานาชาติผิงซี ครั้งแรกเมื่อ ปีค.ศ. 1999 ต่อมาในกิจกรรมฉลองการเข้าสู่สหัสวรรษ ใหม่ของสื่ออังกฤษอย่าง BBC ได้มีการปล่อยโคมลอย ยักษ์ 18.9 เมตรที่ผิงซี ทำลายสถิติกินเนสบุ๊ค และมีผู้ชม การถ่ายทอดไปทั่วโลกกว่า 1,600 ล้านคน การสร้างสรรค์ เหล่านไี้ มเ่ พยี งแตม่ คี วามนา่ สนใจยงั ได้ผสมผสานประเพณี สมัยเก่ากับใหม่ ประสบความสำเร็จในการสร้างชื่อเสียง จนกลายเป็นเทศกาลที่สำคัญในไต้หวัน และยังกระตุ้นให้ เกิดโอกาสทางธุรกิจอีกด้วย
โคมลอยผิงซีล่องลอยสู่เวทีโลก
ในปีค.ศ. 2010 โคมลอยถูกเลือกให้เป็นภาพลักษณ์ของ ศาลาไต้หวัน ในงานเอ็กซ์โปที่เซี่ยงไฮ้ สื่อมวลชนต่าง ประเทศจัดเป็น “1 ใน 52 เรื่องที่ต้องทำใน 52 สัปดาห์ของ รอบปี” และเป็น “15 เทศกาลสำคัญที่ครั้งหนึ่งในชีวิตต้อง ไปร่วมให้ได้” โคมลอยกับผิงซีเป็นของคู่กันราวกับฝาแฝด ความเป็นมาของเทศกาลโคมลอยผิงซีกล่าวกันว่า ใน สมัยราชวงศ์ชิงมีโจรชุกชุม เมื่อโจรมาชาวบ้านจะหนีขึ้น เขา เมื่อโจรไปแล้วผู้ที่อยู่ปกป้องหมู่บ้านจะปล่อยโคมลอย แจ้งให้ญาติมิตรกลับลงมาจากเขา ต่อมาจึงกลายเป็น ประเพณีจุดโคมลอยในเทศกาลหยวนเซียว (元宵) และ ยังเป็นการขอพรให้ปลอดภัยและขอให้มีบุตรอีกด้วย
ในยุค 100 ที่แล้ว ชาวบ้านที่นี่ส่วนใหญ่ปลูกต้นต้า ชิง (Mayflower Gloryberry ใช้ย้อมผ้าสีน้ำเงิน) และ ต้นชา ในปีค.ศ.1908 มีการขุดพบถ่านหิน ในปีค.ศ.1921 บริษัทเหมืองแร่ไถหยัง (台陽) ลงทุนมหาศาลสร้างทาง รถไฟสายสือตี่ (石底) ซึ่งก็คือสายผิงซีในปัจจุบัน ถ่านหิน ที่เปรียบเสมือนทองคำดำ จึงทำให้ผิงซี รวมทั้งละแวกใกล้ เคียงคือสือเฟินเหลียว (十分寮) จิงถงเคิง (菁桐坑) ซึ่ง เป็นชนบทห่างไกลมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้น ร้อยละ 80 ของชาวบ้านในแถบนี้ อาศัยเหมืองถ่านหินในการเลี้ยงชีพ สภาพเช่นนี้ดำเนินอยู่เป็นเวลา 50 กว่าปี ในยุคทศวรรษ 1970 ถ่านหินร่อยหรอลง เกิดภัยพิบัติเหมืองถ่านหิน รูป แบบการใช้พลังงานเปลี่ยนไป การขุดถ่านหินจึงยุติลง ผู้คนพากันอพยพออกไป ความรุ่งเรืองกลายเป็นความฝัน ที่ล่มสลาย และตื่นขึ้นมาพร้อมกับความว่างเปล่า
ความซบเซาของธุรกิจถ่านหิน เปรียบเสมือนประกาศิต กรีดใจชาวบ้าน ทำให้หมดช่องทางทำมาหากิน คุณหวัง รุ่ยอวี๋ (王瑞瑜) นายกสมาคมมัคคุเทศก์บอกว่า “ผิงซี ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรม โอกาสที่จะมีงานทำจึงเท่ากับ ศูนย์” คนหนุ่มสาวพากันย้ายออกไปทำงานในเมือง เหลือ คนแก่เฝ้าบ้านอย่างน่าเวทนา ปัญหาสังคมชราภาพทวี ความรุนแรง ในปีค.ศ. 2015 ประชากรในเขตนี้มีอายุโดย เฉลี่ยสูงกว่า 50 ปี ถือว่าสูงกว่ามากเมื่อเทียบกับอายุโดย เฉลี่ยของประชากรทั่วประเทศที่อยู่ที่ระดับ 37 ปี ไม่น่า แปลกใจเลยที่คุณหวังเจ้าจิง (王肇經) นายกสมาคมการ ค้าผิงซีบอกว่า ในอดีตมีเรื่องเล่าขำขันว่า “บนขบวนรถไฟ สายผิงซี จะมีคนนั่งอยู่ 3 คนเท่านั้น คือ พนักงานขับรถ หัวหน้าขบวนรถ และคนที่ขึ้นรถผิด”
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมรถไฟ ชุบ ชีวิตเมืองกลางภูเขา
ปัจจุบัน บนขบวนรถไฟสายผิงซี ด้านขวาของฉันคือ ชาวเกาหลี ด้านซ้ายคือชาวฮ่องกง ตรงข้ามเป็นสามี ภรรยาชาวสิงคโปร์ บนชานชาลาสถานีรถไฟสือเฟินยังได้ พบเห็นคุณยายชาวญี่ปุ่นหลายคน ที่นี่ถือว่ามีชาวต่างชาติ หลากหลายมากมายยิ่งกว่าในกรุงไทเปเสียอีก หากถาม นักท่องเที่ยวต่างชาติ 10 คนจะมี 8 คนบอกว่ามาเที่ยวที่ นี่เพราะโคมลอย แต่จะอาศัยโคมลอยเท่านั้นคงไม่พอ หาก มัวรอเทศกาลหยวนเซียวอย่างเดียว วันอื่นๆ คงจะหิวไส้ แห้ง ยังโชคดีที่ผิงซีมีทางรถไฟที่เคยใช้ขนถ่านหินถือเป็น ถนนเก่าสายหนึ่ง เปรียบเสมือนสายรุ้งที่ซ่อนตัวในหุบเขา คุณหวังรุ่ยอวี๋กล่าวว่า “ทางรถไฟผิงซีก็คือพิพิธภัณฑ์ที่มี ชีวิต ระหว่างทางมีถ้ำ น้ำตก ร่องรอยเหมืองแร่ โคมลอย ป่าไม้..... ทิวทัศน์หลากหลายมาก”
ทางรถไฟผงิ ซซี งึ่ มจี ดุ เรมิ่ ตน้ จากรยุ่ ฟงั (瑞芳) สายน้ ี เคยถูกทอดทิ้งในช่วงเวลาหนึ่ง หลังจากหลายฝ่ายร่วมกัน ฟื้นฟู จึงได้รับการรักษาไว้ถึงปัจจุบัน เป็นเส้นทางซึ่งแยกออกมาจากทาง รถไฟสายอี๋หลาน (宜蘭) ที่สถานี ซันเตียวหลิ่ง (三貂嶺) แล่นผ่านสะ พานเหล็กอวี๋ฟู่ (魚腹) ที่เก่าแก่คร่ำ คร่าเห็นสายนำ้ไหลเอื่อยจากป่าเขียว ขจี ลอดผ่านถ้ำต้าหัว (大華) ซึ่งเป็น ธรรมชาติที่สะดุดตา ถนนเก่าสือเฟิน ที่บ้านอาคารเรียงรายหนาแน่น เสียง ล้อรถไฟฉึกฉักเสมือนเพ่อื นบ้านเก่าแก่ ที่มาเยี่ยมเยือนไม่ขาดสาย ถนนเก่าสือ เฟินที่คึกคักมีชีวิตชีวานี้ ในอดีตสองฝั่ง ข้างทางรถไฟจะมีคนปอกหน่อไม้ ล้าง ผักผลไม้ ขายบะหมี่ เส้นหมี่ .... ปัจจุบัน กลับเปลี่ยนเป็นร้านขายโคมไฟที่เปิด ขึ้นมากมาย นักท่องเที่ยวพากันปล่อย โคมลอยบนรางรถไฟ เมื่อรถไฟแล่นมา ก็พากันหลบหนีจ้าละหวั่น เหมือนลูกไก่ วิ่งหนีเหยี่ยว เป็นภาพที่คนในท้องถิ่น เห็นจนชินตา กรมการรถไฟก็เอาแต่ ปากว่าตาขยิบ ทำให้คนทั่วไปเห็นแล้ว อดเสียวแทนไม่ได้ ถือเป็นปรากฏการณ์ แปลกใหม่ในแหล่งท่องเที่ยวทีเดียว
เมอื่ รถไฟแลน่ ผา่ นชานชาลาคดโคง้ ของสถานหี ลงิ เจยี่ ว (嶺腳) ก็ถึงผิงซี มาถึงที่นี่ทำให้นึกถึงโฆษณาบะหมี่ สำเร็จรูปจางจวินหย่า (張君雅) ที่ชาวไต้หวันรู้จักกันดี เพราะมาถ่ายทำกันที่นี่ นึกถึงเสียงภาษาไต้หวัน (ไถอวี่) ในโฆษณา “หนูน้อยจางจวินหย่า บะหมี่ที่สั่งไว้เสร็จแล้ว อาม่าของเธอบอกว่าจะต้องส่งถึงภายใน 1 นาที รีบมาเอา ...” ภาพเด็กหญิงอ้วน กลม วิ่งตึกตักๆ มาทางถนนที่ปูด้วย แผ่นหินหรือถนนสือปั่น (石板) ผ่าน ร้านของชำ ร้านเครื่องใช้โลหะ ร้าน เครื่องกลเกษตร ร้านเบเกอรี่ คลินิก เก่า ร้านเต้าฮวยและร้านสมุนไพรจีน ภาพคุ้นเคยเหล่านั้นปรากฏอยู่เบื้อง หน้า เดินไปอีกหน่อย จะเห็นสะพาน เหล็ก ร้านทำผม ที่ทำการไปรษณีย์ และโรงเรียนประถมผิงซี หรือจะเดินไป อีกทางหนึ่งผ่านถนนสือตี่ (石底) ไป ชิมขนมอี๊เผือก (บัวลอยเผือก) ทำด้วย มือ เดินเล่นริมแม่น้ำจีหลงซึ่งไหลผ่าน กลางหุบเขา บนสะพานสือตี่อาจมีคน ตกปลา หรือมีเด็กวิ่งเล่นหยอกล้อ ให้ ความรู้สึกที่เหมือนกับย้อนเวลากลับไป สู่ยุคอดีต
จุดสิ้นสุดของทางรถไฟเก่าคือสถานี จิงถง (菁桐) ได้มีการอนุรักษ์ตัวสถานี ที่เป็นอาคารไม้แบบญี่ปุ่นเอาไว้ ซึ่งสรา้ งขนึ้ ในปคี .ศ. 1929 ถนนเกา่ จงิ ถง อยู่ใกล้กับสวนอนุสรณ์เหมืองถ่านหิน โรงงานถ่านหินเก่า หอพักแบบญี่ปุ่นและหลุมเหมืองแร่ ต้าเสียเคิง (大斜坑) ห่างออกไป 100 เมตร มีเรือนรับรองไท่จื่อปินกวั่น (太 子賓館) สิ่งก่อสร้างเหล่านี้สร้างขึ้นเพียงเพื่อตอบสนอง ต่อความต้องการใช้งานในอดีต คิดไม่ถึงว่าจะยังคงอยู่ถึง ปัจจุบันและกลายมาเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า
การท่องเที่ยวบนถนนเก่า สัมผัสจิต วิญญาณท้องถิ่น
คุณหวังเจ้าจิง ทุ่มเทให้กับการลงสำรวจพื้นที่และการ เป็นมัคคุเทศก์มาเป็นเวลายาวนาน เขาเห็นว่า คนใน ท้องถิ่นจะต้องใส่ใจต่อเรื่องของท้องถิ่น จึงจะส่งเสริม กิจการของท้องถิ่นให้รุ่งเรืองได้ และจะต้องมีจิตวิญญาณ ร่วมสร้างชุมชน จึงจะแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง ที่ผ่าน มาคนภายนอกวิจารณ์ว่า โคมลอยสร้างมลภาวะต่อสิ่ง แวดล้อม ทำให้เกิดไฟป่า การแก้ไขในปัจจุบัน ก็อาศัยวิธี ให้ประชาชนปล่อยเองเก็บเอง สำนักงานเทศบาลให้การ อุดหนุน กระตุ้นชาวบ้านช่วยกันเก็บกวาด ในระยะยาว ชาวบ้านจะต้องร่วมมือกัน การว่าจ้างบุคคลภายนอกมา ช่วยแก้ปัญหาได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น เขาย้ำว่า นักท่อง เที่ยวที่มีจำนวนมากเกินไปไม่ใช่เรื่องดีเสมอไป คนในท้อง ถิ่นไม่ได้คาดหวังคนเยอะ เนื่องจากสาธารณูปโภคไม่เพียง พอ และไม่ต้องการเน้นการค้ามากเกินไป จนมีปัญหาค่า เช่าที่แพง คนต่างถิ่นกอบโกยผลประโยชน์ระยะสั้น “หาก ผิงซีเป็นเหมือนกับจิ่วเฟิ่น ก็จะถือเป็นการเริ่มต้นของฝัน ร้าย”
นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ตื่นตาตื่นใจ พากันเขียนค อธิษฐานบนโคมลอย จับโคมปล่อยขึ้นท้องฟ้า พวกเขาอาจ มาตามคำโฆษณา หรือการดูละครหรือภาพยนตร์ พวก เขาจะรู้สึกแปลกใหม่ในครั้งแรกเท่านั้น ชาวบ้านจึงหวังว่า จะไม่จบแต่เพียงเท่านี้ จะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์มาก ขึ้น ทำให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสเรื่องราวของบุคคลและ ประวัติศาสตร์ไปด้วย ในระหว่างการสัมภาษณ์นั้น เสียง โทรศัพท์ดังขึ้นเป็นระยะ มีนักท่องเที่ยวที่สนใจโทรศัพท์ มาสอบถามเป็นจำนวนไม่น้อย นี่อาจทำให้พวกเขามี ความคาดหวังมากขึ้น จนต้องคิดหาหนทางมาตอบสนอง ความต้องการของเหล่าผู้มาเยือน คุณหวังเจ้าจิงและ ลูกชายของเขาได้ปรึกษากันว่า น่าจะเลียนแบบ “ระฆัง สัญญาณเตือนภัย” ในยุคก่อน เป็นการรำลึกเหตุการณ์ใน อดีต ทำให้นักท่องเที่ยวสนุก หรือเลียนแบบหลบภัยจาก การทิ้งระเบิด หากนำมาปฏิบัติจริง “ระฆังสัญญาณเตือน ภัย” จะเป็นกิจกรรมที่แปลกใหม่เลยทีเดียว
สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เป็นเพียงการพูดกันลอยๆ หากแต่มันคือ การบ้านที่พวกเขาต้องขบคิดในทุกๆ วัน ชีวิตของพวก เขาอยู่ที่นี่ บางทีในทุกๆ ที่ต่างก็มีแสงและมีเงามืด มีความ เสื่อมถอยและมีความรุ่งเรืองเป็นของธรรมดา ซึ่งชาวผิง ซีสามารถเข้าใจความคิดนี้ได้อย่างลึกซึ้ง เพราะพวกเขา ผ่านมาหมดแล้ว ไม่ว่าจะย่ำน้ำหรือลุยไฟ กว่าจะมีบ้านที่ สุขสงบท่ามกลางหุบเขาแห่งนี้ แน่นอนว่าคนที่หลงเหลือ อยู่ก็จะคิดได้ว่า มีเพียงแต่การรักหวงแหนในผืนแผ่นดิน เท่านั้น ที่จะทำให้มีบ้านอันสงบร่มเย็นเป็นเวลายาวนาน และหากเรารู้สึกเช่นนี้ได้จริง ความตั้งใจและมุ่งมั่นเหล่านี้ ก็จะสะท้อนออกมาผ่านทุกการกระทำของเรา