
近年,各地聘請「駐縣作家」書寫地方蔚為風潮。作家生花妙筆下的「新地方誌」,有如一塊塊拼圖,慢慢完整了台灣的新樣貌。
馬祖東莒,豎立有「國之北疆」的小島,經苦苓的描繪,已然成為許多人夢想與期待的「島嶼情人」;雪隧開通後人潮日多的宜蘭,還能不能繼續保有舒國治眼中「最寶貝的鄉下」特質?
ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ไต้หวันเกิดกระแสความนิยมเชิญนักเขียนที่มีชื่อเสียง ไปพำนักอาศัยตามเมืองต่างๆ เพื่อเรียงร้อยเรื่องราวที่น่าสนใจในท้องถิ่น และจัดทำเป็น "บันทึกประจำถิ่นฉบับใหม่" เปรียบประหนึ่งการนำจิ๊กซอว์ ที่กระจัดกระจาย มาต่อเข้าด้วยกันกลายเป็นภาพไต้หวันในรูปโฉมใหม่ที่ สมบูรณ์กว่าเดิมทำ
ตงจวี่ (東莒) เกาะเล็กๆ ที่แทบไม่มีคนเคยได้ยินมา ก่อน ซึ่งหลังจากที่ขู่หลิง (苦苓) นักเขียนชื่อเสียงดังได้ บรรจงเรียงร้อยเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับเกาะแห่งนี้ออก มา ทำให้ตงจวี่ได้รับสมญานามว่า “เกาะสวรรค์สำหรับ คู่รัก” และกลายเป็นดินแดนในฝันของคู่รักจำนวนมาก ในขณะที่เมืองอี๋หลาน หลังเปิดใช้อุโมงค์เสวี่ยซัน ผู้คน แห่แหนเดินทางไปเยือนเมืองนี้กันมากขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ “ชนบทสุดแสนล้ำค่า” ในสายตาของซูกั๋วจื้อ (舒國治: เจ้าของผลงาน “ชำเลืองแลอี๋หลาน”) จะยังอนุรักษ์เอา ไว้ต่อไปได้อีกหรือไม่?
ตามหาเกาะในดวงใจ
ไต้หวันเป็นเกาะรอบนอกของภาคพื้นทวีปเอเชีย หมา จู่ (馬祖) เป็นเกาะรอบนอกของไต้หวัน และตงจวี่เป็น เกาะรอบนอกของหมาจู่ ปีค.ศ.2013 ขู่หลิงได้ตัดสิน ใจไปพำ นกั อาศยั ใชช้ วี ติ และเขยี นหนงั สอื ทเี่ กาะตงจวี่ เกาะอันไกลโพ้นแต่เป็นเกาะในดวงใจของเขา
ตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิในเดือนเมษายนไปจนถึงฤดูร้อนใน เดือนกันยายน ขู่หลิงใช้เวลาเดินทางไปมาและพำนัก อาศัยอยู่บนเกาะตงจวี่ประมาณสองเดือนเศษ
ทำไมต้องหลีกหนีสังคมดั้นด้นไปหาที่พักพิงไกลถึงตง จวี่ ขู่หลิงบอกว่า นี่คือช่วงเปลี่ยนผ่านของชีวิตจากคนที่ เคยมีชื่อเสียงโด่งดังมาเป็นปุถุชนคนธรรมดา
“ผู้คนบนเกาะกับผมไม่มีเรื่องผลประโยชน์เข้ามา เกี่ยวข้อง ผมมาที่นี่เพื่อหาเพื่อนใหม่ และส่วนหนึ่งก็ เหมือนกับเป็นการเริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วย”
ขู่หลิงวางแผนไว้ว่าจะหาที่พักบนเกาะเล็กๆ ที่อยู่ไกล โพ้น ไม่มีร้าน 7-11 ร้านสตาร์บัคส์และร้านแมคโดนัลด์ ประจวบเหมาะกับช่วงนั้นกองวัฒนธรรมหมาจู่ได้เชิญ เขาไปแสดงปาฐกถาที่เกาะหมาจู่ซึ่งได้กลายเป็นแรง หนุนให้เขาเริ่มดำเนินแผนการใช้ชีวิตบนเกาะ
เมื่อเหยียบย่างขึ้นไปบนเกาะตงจวี่ ขู่หลิงพบว่าแม้ เกาะนี้จะมีพื้นที่เพียง 2.6 ตารางกิโลเมตร แต่มีชายฝั่ง และโขดหินที่แสนสวยงาม ระบบนิเวศอุดมสมบูรณ์ วัดวาอาราม วัฒนธรรมและประเพณีดั้งเดิมยังถูก อนุรักษ์เอาไว้เป็นอย่างดี
ตกหลุมรักเกาะตงจวี่
“ต้องมาพักแบบลองสเตย์ (long stay) จึงจะหลงรัก เกาะตงจวี่” ขู่หลิงเผย และเขายังบอกอีกว่า “การท่อง เที่ยวก็เหมือนกับการนัดพบเพื่อหาคู่ แต่คนเราไม่อาจทำ เช่นนั้นได้ตลอดไป จำเป็นต้องเลือกสิ่งที่เราชอบมากที่สุด แล้วเริ่มคบหากันจึงจะมีโอกาสรู้ใจและรักใคร่กัน จากนั้น จึงจะสามารถเรียงร้อยออกมาเป็นเรื่องราวได้ มิฉะนั้นก็ ไม่ต่างอะไรกับการทำความรู้จักกันเพียงผิวเผินเท่านั้น”
ในตอนแรกข่หู ลิงเร่มิ จากการเข้าไปพำนักอาศัยในหมู่ บ้านฝูเจิ้ง (福正村) ซึ่งมีประชากรค่อนข้างหนาแน่น ต่อมา เขาย้ายไปอาศัยที่หมู่บ้านต้าผู่ (大埔村) ซึ่งไม่มี ผู้คนอาศัยอยู่เลย ชาวบ้านพูดถึงเรื่องนี้กันไปต่างๆ นานา บางคนบอกวา่ พวกศลิ ปนิ หรอื นกั ประพนั ธก์ แ็ บบนแี้ หละ ทำอะไรไม่เหมือนคนธรรมดาทั่วไป บางคนก็สงสัยว่าเขา คงเจออะไรที่กระทบกระเทือนจิตใจมากนั่นเอง
“ความจริงหมู่บ้านต้าผู่สวยกว่าหมู่บ้านฝูเจิ้ง” ขู่หลิง พูดยิ้มๆ เดิมต้าผู่เป็นหมู่บ้านชาวประมงที่เคยรุ่งเรือง ในอดีตมีโรงฝิ่น ซ่องโสเภณีและร้านเหล้า เคยถูกใช้ เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ไต้หวันเรื่อง Ripples of Desire (花漾)
ขู่หลิงใช้ชีวิตที่หมู่บ้านต้าผู่อย่างมีความสุข เขาชอบไป เดินเล่นแถวถนนเก่าท่เี คยเป็นเส้นทางลำเลียงปลาของ ชาวประมง ช่วงระหว่างนี้ เขายังเกิดอารมณ์สุนทรีย์ตั้ง ชื่อให้ศาลาพักริมทางที่เดินผ่านบ่อยๆ ว่า “ศาลานั่งรับ ลม” (與風同坐亭) ที่นี่จะได้ยินเพียงเสียงของมัคคุเทศก์ แนะนำนักท่องเที่ยวผ่านเครื่องขยายเสียงว่า “ปัจจุบัน หมู่บ้านต้าผู่ไม่มีคนอาศัยอยู่ มีเพียงขู่หลิงนักเขียนชื่อดัง อาศัยอยู่ที่นี่เพียงลำพัง ถ้าตอนนี้เขาว่างก็จะโผล่ออกมา ที่หน้าต่าง ทักทายกับพวกเรา”
เมื่อได้ยินเสียงเรียกร้อง ขู่หลิงก็จะวิ่งมาโบกมือทักทาย กลุ่มนักท่องเที่ยวที่หน้าต่าง เขาพูดติดตลกว่า “รู้สึก เหมือนตัวเองเป็นพระสันตะปะปา”
ช่วงกลางวันขู่หลิงจะเดินเล่นอยู่บนเกาะอย่างไม่มี จุดหมาย ตกกลางคืนก็ลงมือเขียนบันทึกเรื่องราวที่ได้ ประสบพบเจอมา ตอนที่ขู่หลิงเดินทางออกจากเกาะตง จวี่ หนังสือที่เขาตั้งใจเขียนขึ้นมาก็เกือบจะเสร็จสมบูรณ์ แล้ว
ลาจากตงจวี่ กลายเป็นหนึ่งในปฐพี
การไป “แช่” อยู่ที่นั่นเป็นเวลานาน หลายสิ่งหลาย อย่างบนเกาะตงจวี่ไม่ว่าจะเป็นผู้คน ทะเล หาดทราย สายลม ดอกไม้ใบหญ้า และศาลาพักริมทาง ล้วนมีร่อง รอยของขู่หลิงหลงเหลืออยู่ หนังสือที่เขาเขียนเต็มไปด้วย เรื่องราวที่น่าสนใจและมีชีวิตชีวา ทำให้ผู้อ่านจำนวน มากประทับใจ หลายคนพกหนังสือของเขา แล้วออกเดินทางไปเกาะตงจวี่ เพื่อพิสูจน์ สิ่งที่เขียนไว้ในหนังสือ
บ้านเลขที่ 43 ในหมู่บ้านฝูเจิ้งที่ขู่หลิงไป พักชั่วคราวนั้นไม่มีป้ายเลขที่บ้าน แม้นัก ท่องเที่ยวจำนวนมากจะถามชาวบ้านจน ทั่วก็หาไม่เจอ ที่ทำการตำบลจึงต้องทำป้าย เลขที่บ้านขึ้นมาใหม่ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ ถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึ การที่เกาะตงจวี่มีนักท่องเที่ยวมาเยือน เพิ่มขึ้นทำให้ชาวบ้านบนเกาะตงอิ่น (東 引) ซึ่งเป็นเกาะรอบนอกอีกแห่งอิจฉา พวกเขาบอกว่า “ขู่หลิงลำเอียง เขียนแต่ ตงจวี่ ไม่เคยเอ่ยถึงตงอิ่นเลย เดี๋ยวนี้นักท่องเที่ยวแห่ไป ตงจวี่กันหมด” เกาะตงอิ่น เกาะจินเหมินน้อยต่างแย่งกัน เชิญขู่หลิงให้ไปพักแบบลองสเตย์บ้าง
หลังกลับจากตงจวี่ในคราวนั้นแล้ว ขู่หลิงยังพาเพื่อน ไม่ซ้ำหน้าไปเยือนอีกเป็นประจำทุกปี ชาวบ้านบนเกาะ ตงจวเี่ หน็ ขหู่ ลงิ มาเยอื นมกั จะทกั ทายอยา่ งเปน็ กนั เองวา่
“กลับมาแล้วเหรอ” ในสายตาของพวกเขา ขู่หลิงกลาย เป็นส่วนหนึ่งของตงจวี่ไปแล้ว “ถ้าคุณไม่มีเวลาไปเกาะเล็กๆ ที่อยู่รอบๆ เกาะหมาจู่ ไปที่ตงจวี่แห่งเดียวก็พอ” โขดหินกับนกนางแอ่นที่เกาะ ตงอิ่น บนเกาะตงจวี่ก็มี รันเวย์เครื่องบินรบกับอุโมงค์ หลบภัยที่หนานกาน (南竿) ที่ตงจวี่ก็มี “ตงจวี่เสมือน เกาะหมาจู่น้อย” แล้วขู่หลิงก็อดไม่ได้ที่จะช่วยตงจวี่ ประชาสัมพันธ์
ซูกั๋วจื้อชำเลืองแลอี๋หลาน
ซูกั๋วจื้อ (舒國治: นักประพันธ์ไต้หวันชื่อดัง) มักจะ เดินทางไปเยือนเมืองนั้นเมืองนี้ ประเทศนั้นประเทศนี้ แลว้ กลบั มาเขยี นเรอื่ งราวของเมอื งหรอื ประเทศทเี่ ขาไป เยือน แต่น้อยครั้งนักที่เขาจะเขียนออกมาเป็นเล่มหนาๆ เหมือนกับหนังสือที่เขาเขียนถึงเมืองอี๋หลาน
“อี๋หลานมีหลายสิ่งหลายอย่างเหลือเกินที่ผมชื่นชอบ เป็นการส่วนตัว อยากจะไป อยากจะดู อยากจะเก็บ ไว้และอยากจะลิ้มลอง” นี่เป็นส่วนหนึ่งในคำนำของ หนังสือชื่อ “ชำเลืองแลอี๋หลาน” ที่ซูกั๋วจื้อเขียนเอา ไว้ กองวัฒนธรรมเมืองอี๋หลานเชิญเขาไปเป็นนักเขียน ประจำถิ่น ซูกั๋วจื้อได้เริ่มสำรวจและค้นพบสิ่งที่น่าสนใจ ในอี๋หลาน จากนั้นก็เริ่มเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับความงาม ของชนบทไต้หวันในอดีตที่ยังพบเห็นได้ที่อี๋หลาน
ดินแดนแห่งสายฝน
ซูกั๋วจื้อเดินทางไปอี๋หลานเฉลี่ยเดือนละสามครั้ง ใช้ เวลาศึกษาประวัติศาสตร์และงานเขียนต่างๆ ที่เกี่ยวกับ อี๋หลานอีกประมาณครึ่งปี
สิ่งที่ทำให้คนอี๋หลานรู้สึกทุกข์ร้อนคือ “ฝน” และ “ความยากจน” แต่ในสายตาของนักเขียนกลับคิดว่านี่คือ มนต์เสน่ห์อีกรูปแบบหนึ่ง
“ในอดีตอี๋หลานคือดินแดนแห่งสายฝน แต่สำหรับคน ไทเปแล้ว สายฝนทำให้มีบรรยากาศสลัวๆ และท้องทุ่ง ที่เขียวขจีทำให้ผู้พบเห็นเกิดความรู้สึกคิดถึงบ้าน ด้วย เหตุนี้เอง ผมจึงชอบความงามแบบอี๋หลาน “ส่วนความ ยากจน” ก็อาจมองได้ว่าเป็นความโชคดีในความโชคร้าย เมื่อความเจริญมีน้อยก็จะเหลือชนบทที่สวยงามอยู่มาก
“ชนบท” คือประเด็นสำคัญที่ซูกั๋วจื้อหยิบยกขึ้นมาใช้ เขียนถึงอี๋หลาน เขากล่าวว่า “สิ่งที่ทำให้อี๋หลานสามารถ ดึงดูดใจผมได้มากที่สุดคือทัศนียภาพ และทัศนียภาพที่ สำคัญที่สุดในเมืองอี๋หลานคือสิ่งที่ผมเรียกมันว่า “ชนบท”
นาข้าว ตลิ่งริมแม่น้ำ หมู่บ้านชนบท ต้นไม้ใหญ่ สะพานเล็กๆ และถนนสายเล็กในชนบท ในสายตาของ ซูกั๋วจื้อ สิ่งเหล่านี้ทำให้อิ่มตาอิ่มใจยิ่งนัก
สำหรับทิวทัศน์ที่มีชื่อเสียง 8 แห่ง หรือสถานที่ท่อง เที่ยวที่น่าสนใจ 18 แห่ง ในเมืองอี๋หลานนั้น ซูกั๋วจื้อไม่ ได้กล่าวถึงมากนัก “สถานที่เหล่านั้นได้ชื่อว่าเป็นแลนด์ มาร์คที่คลาสสิกของอี๋หลานอยู่แล้ว เช่น เกาะกุยซัน (龜 山島) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามเสมือนเป็นเกาะ ศักดิ์สิทธิ์ ไม่จำเป็นต้องไปเปลี่ยนแปลงอะไร เพราะมัน เป็นทัศนียภาพที่ชมอย่างไม่รู้สึกเบื่อเลยแม้แต่น้อย”
อาหารเลิศรสถือเป็นอีกหนึ่ง ทัศนียภาพที่พลาดไม่ได้
สำหรับซูกั๋วจื้อซึ่งเป็นผู้ที่ชอบศึกษาเกี่ยวกับอาหาร เลิศรส จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เขาจะเขียนถึงอาหารอร่อย ของอี๋หลานมากสักหน่อย ไม่ว่าจะเป็นราดหน้าหมู กระเทียม แพนเค้กย่างของหลัวตง น้ำอ้อยของย่านเสิน หนง ขนมเฉาอากุ้ยและอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งล้วนแล้วแต่ ปรุงขึ้นอย่างพิถีพิถัน เป็นอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของ อี๋หลานทีเดียว
อาหารเลิศรสที่ซูกั๋วจื้อได้กล่าวยกย่องไว้มากที่สุดคือ บะหมี่แห้ง เขาบอกว่า “บะหมี่แห้งอี๋หลาน มีความเป็น เอกลักษณ์พิเศษสุด มันทำให้ผมเกิดอารมณ์สุนทรีย์” เขาอธิบายต่อว่า อี๋หลานเป็นเมืองที่มีคนจีนจากมณฑล อื่นอาศัยอยู่น้อยมาก แต่คนอี๋หลานกลับชอบกินบะหมี่ ของมณฑลอื่น “มีร้านบะหมี่แห่งหนึ่งเวลาที่ลวกบะหมี่ เถ้าแก่ให้ความสำคัญกับความแรงของไฟมาก ลูกค้าตั้ง ชื่อให้ร้านนี้ว่า บะหมี่สัปหงก (喥咕麵) เพราะเถ้าแก่ จะค่อย ๆ ลวกบะหมี่ทีละชามๆ ทำให้ลูกค้าต้องรอจน ง่วงนั่งสัปหงกไปตามๆ กัน” ซูกั๋วจื้อเล่าอย่างติดตลก หลังเข้าไปคลุกคลีอยู่ที่อี๋หลาน ซูกั๋วจื้อพบว่า อี๋หลาน กำลงั เปลยี่ นแปลงจากชนบททสี่ วยงามไปสเู่ มอื งทเี่ หมาะ แก่การใช้ชีวิต แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือสภาพ การณ์ท่ผี ้คู นแห่ไปปลูกเถียงนาหรู กันมาก
“ในช่วง 2-3 ปีมานี้ ผู้คนพากันแห่งไปปลูกเถียงนากันที่อี๋หลาน แต่ “เถียงนา” ที่ว่านี้ ความจริงก็คือ “วิลลา” (villa) หรือบ้านพักตาก อากาศหรู ตอนที่ผมเขียนหนังสือ “ชำเลืองแลอี๋หลาน” ใกล้จะจบลงนั้น ท้องทุ่งนาแทบจะไม่มีเหลืออยู่อีกเลย เมื่อเขียนหนังสือจบลง ผมแทบจะไม่ไปอี๋หลานอีกเพราะ ไม่อยากเห็นความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น” “เดิมผมเขียนหนังสือเกี่ยวกับเมืองอี๋หลานเพราะ ต้องการจุดกระแสการชมทัศนียภาพแบบท้องท่งุ ชนบท แต่ปัจจุบันอี๋หลานมีผู้คนแห่ไปท่องเที่ยวกันมากมาย อี๋หลานสมบูรณ์พูนสุขขึ้นแล้ว แต่ก็ยังมีเมืองเล็กๆ แห่ง อื่นที่เต็มไปด้วยธรรมชาติ ที่เรายังเที่ยวชมกันได้ ไม่ว่า จะเป็นฮัวเหลียน ไถตง เหมียวลี่ จู๋ตง ซานอี้ หรือผิงตง” ซูกั๋วจื้อกล่าว
“ชำเลืองแลอี๋หลาน” ของซูกั๋วจื้อ ทำให้ผู้คนหวนคิดถึง ชีวิตในชนบทที่เรียบง่าย ใครว่าแดนสวรรค์ที่เรียกกันว่า ธารดอกท้อ (桃花源) จะมีให้เห็นเพียงในอดีตกาลอัน ไกลโพ้นเท่านั้น